การอัปเดตของ 12 Algorithm ต่อการเปลี่ยนแปลงการจัดอันดับบน Google

Algorithm Google เปรียบเทียบการทำงานเหมือนแมงมุมที่เข้าเก็บข้อมูลและคัดเลือกบทความที่มีคุณภาพและตรงกับคำค้นหา เพื่อแสดงผลลัพธ์ที่ดีสำหรับผู้ใช้งานและกำจัดลิงค์ที่ไม่มีคุณภาพและไม่มีความสอดคล้องกัน การเก็บข้อมูลและคัดกรองของกูเกิ้ลอัลกอริทึมมีมากกว่า 200 กว่ารายการ เราขอยก Algorithm ตัวอย่างที่มีผลต่อการจัดอันดับบนการค้นหา

12 Algorithm ที่มีผลต่อการจัดอันดับหน้าการค้นหาบน Google

1. Google Panda : เปิดตัวเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2011

หน้าที่ :  เว็บไซต์ที่มีคุณภาพเนื้อหาเหมาะสมและมีการอัปเดตเป็นประจำสม่ำเสมอ

ผลกระทบ : บทความที่มีการเน้นคีย์เวิร์ดที่มากเกินไปเว็บอาจจะถูกลดอันดับจาก Google 

วิธีการแก้ไข : ตรวจสอบการคัดลอกบทความจากเว็บอื่นและการเน้นคีย์เวิร์ดในการทำอันดับมากเกินไป

 

2. Google Penguin : เปิดตัวเมื่อ 24 เมษายน 2012

หน้าที่ : สแปมลิงค์และกำจัดเว็บที่ไม่มีคุณภาพ

ผลกระทบ :  ตรวจสอบคุณภาพ BackLink มีคุณภาพและมีความสอดคล้องกันกับเนื้อหาในการเชื่อมโยงหรือไม่

วิธีการแก้ไข : ตรวจสอบลิงค์ ลบลิงค์ที่ไม่มีคุณภาพที่เชื่อมโยงมายังเว็บไซต์

 

3. Google Hummingbird : เปิดตัวเมื่อ 24 กันยายน 2013

หน้าที่ : แสดงผลการค้นหาจากคำถามที่ผู้ค้นหาค้นหาในเชิงการตั้งคำถามโดยไม่มีคีย์เวิร์ดหรือคำหลักในการค้นหา 

ผลกระทบ :   เนื้อหาที่ไม่มีคุภาพอาจถูกลดการจัดอันดับ

วิธีการแก้ไข : ปรับปรุงเนื้อหาให้มีคุณภาพ,ปรับการใส่คำหลักในเนื้อหาเว็บไซต์

 

4. Google Pigeon เปิดตัวเมื่อ 24 กรกฎาคม 2014

หน้าที่ : การค้นหาร้านและแสดงตำแหน่ง สถานที่ร้านค้า บริการ โดยอ้างอิงจากการรีวิวสื่อบนโซเซียล

ผลกระทบ : ร้านค้าที่แสดงขึ้นบน Google สามารถมองเห็นร้านที่ได้รับการรีวิวขึ้นอยู่หน้าการค้นหา ในขณะเดียวกันหน้าการทำอันดับ SEO ผลลัพธ์การมองเห็นน้อยลง

วิธีการแก้ไข : ใส่รายละเอียดชื่อร้าน,รูปภาพ,การติดต่อ ให้ครบถ้วนสมบูรณ์

 

5. Google RankBrain : เปิดตัวเมื่อ 26 ตุลาคม 2015

หน้าที่ :  การทำงานด้วยระบบการตอบคำภชถามจาก AI ที่ Google ยอมรับในการแสดงผลการค้นหา

ผลกระทบ : เว็บไซต์มีเนื้อหาที่ตรงประเด็นต่อการค้นหามีความแม่นยำในการแสดงผลลัพธ์มากขึ้น

วิธีการแก้ไข : ปรับปรุงเนื้อหาที่มีคุณภาพและเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้งานมากที่สุด

 

6. Google Possum เปิดตัวเมื่อ 1 กันยายน 2016

หน้าที่ :  แสดงการค้นหาร้านค้า ธุรกิจในพื้นที่ใกล้เคียง

ผลกระทบ : ธุรกิจที่อยู่ห่างไกลพื้นที่การค้นหาอาจไม่ได้รับการแสดงบนหน้า Google (การเปลี่ยนแปลงนี้ยังคงไม่เห็นผลชัดเจน)

วิธีการแก้ไข : ตรวจสอบอันดับพื้นที่ธุรกิจในพื้นที่นั้น ๆ

 

7. Google Pirate : เปิดตัวเมื่อ – สิงหาคม 2012

หน้าที่ : ตรวจสอบการละเมิดสิทธิ์ของผู้อื่น

ผลกระทบ : เมื่อถูกตรวจพบเว็บไซต์อาจไม่มีอันดับหรือแย่ไปกว่านั้นคือถูก Google แบน

วิธีการแก้ไข : ลบเนื้อหาที่คัดลอกและหลีกเลี่ยงการคัดลอกเนื้อหาจากเว็บอื่น

 

8. Google Mobile friendly เปิดตัวเมื่อ 21 เมษายน 2015

หน้าที่ :  การแสดงผลเนื้อหาบนหน้าบนหน้าการใช้งานทุกอุปกรณ์เข้าถึงได้ง่ายและสะดวกต่อผู้ใช้บริการ

ผลกระทบ : เว็บไซต์ที่ไม่รองรับการแสดงผลบนหน้าจอมือถือ ถูกลดอันดับการแสดงผลทันที

วิธีการแก้ไข : ควรทำเว็บไซต์ให้เหมาะต่อการใช้งานในทุกอุปกรณ์

 

9. Google Fred : เปิดตัวเมื่อ 8 มีนาคม 2017 

หน้าที่ : เว็บไซต์ที่มีเนื้อหาน้อยแสดงการโฆษณามากเกินไป

ผลกระทบ  : สแปมเว็บไซต์ที่มีสื่อการทำโฆษณาเพื่อสร้างรายได้ที่มากเกินไป

วิธีการแก้ไข : ควรมีเนื้อหาที่เหมาะสำหรับผู้อ่านและปรับการแสดงโฆษณา

 

10. Google EMD (Exact Match Domain)   : เปิดตัวเมื่อ 29 กันยายน 2012

หน้าที่ : ลดอันดับชื่อโดเมนที่ตรงกับ Keyword ที่มีเนื้อหาคุณภาพต่ำ

ผลกระทบ : เว็บไซต์ที่มีชื่อโดเมนตรงกับคำค้นหาแต่มีเนื้อหาไม่เหมาะสมถูกลดอันดับลง

วิธีการแก้ไข : หลีกเลี่ยงการใส่คีย์เวิร์ดในชื่อโดเมน หัวข้อ แท็ก ไม่ให้ตรงกันและปรับเนื้อหา

 

11. Google The Top Heavy  : เปิดตัว มกราคม 2012

หน้าที่ : จัดอันดับเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาแสดงน้อยและมีโฆษณามากเกินไป

ผลกระทบ : เว็บไซต์ที่มีการทำโฆษณาบนหน้าเว็บมากกว่าครึ่งจะถูกลดอันดับทันที

วิธีการแก้ไข : ปรับปรุงการวางตำแหน่งของโฆษณาให้เหมาะสม,ปรับเนื้อหาให้เป็นประโยชน์ต่อผุ้ใช้งาน

 

12. Google Payday : เปิดตัวเมื่อ 11 มิถุนายน 2013

หน้าที่ : สแปมเว็บไซต์ที่มีการทำอันดับเเร็วจนเกินไปและเว็บไซต์ที่ผิดกฎหมาย

ผลกระทบ : ลดการแสดงเว็บไซต์ที่อันตรายต่อผู้ใช้งานประเภท คาสิโน,สื่อลามก,การพนัน,ยาเสพติด ฯลฯ

วิธีการแก้ไข : ปรับปรุงเว็บไซต์ที่ส่งผลดีต่อผู้ใช้งานและทำเว็บไซต์ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำผิดกฎหมาย

Algorithm Google มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาเพื่อการแสดงผลลัพธ์ที่ดีที่สุดในการค้นหาต่อผู้ใช้งาน ซึ่งเป็นเป้าหมายหลักของการอัปเดตในแต่ละครั้งที่มุ่งเน้นการแสดงเนื้อที่ถูกต้องและเหมาะสมมากที่สุด การทำเว็บไซต์ที่มีคุณภาพควรก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้อ่านให้มากที่สุด ไม่เพียงแต่ต้องการที่จะอยู่ในอันดับที่ดีเท่านั้นเพราะหากเว็บไซต์ดีมีคุณภาพอันดับก็ส่งผลตามมาเองและยังสอดคล้องกับความต้องการของกูเกิ้ลในการแสดงผลต่อผู้ใช้งานอีกด้วย

Our Score
Click to rate this post!
[Total: 0 Average: 0]