ความสำคัญและวิธีการเลือกใช้ Meta Tags แบบ H1-H6 ที่มีผลด้าน SEO บน Google

Meta Tags H1-H6 จุดเริ่มต้นแต่สำคัญของ SEO ที่ห้ามมองข้ามเด็ดขาด

อีกหนึ่งเรื่องของ Off-Page ที่ไม่ควรพลาด และจัดเป็นส่วนสำคัญอันดับต้นๆ ของการทำ SEO (ดูต่อ: SEO คืออะไร?) เลยก็คงจะหนีไม่พ้นการเลือกใช้ Meta Tags H1-H6 (h1, h2, h3, h4, h5, h6) อย่างถูกต้อง ถูกหลัก มีความเหมาะสมที่สุด จึงจะเห็นผลได้เป็นอย่างดี มีโอกาสในการทำอันดับได้ดีเหนือกว่าคู่แข่งได้ โดยในบทความนี้ เราจะมายกตัวอย่างการใช้งาน หรือแนวทางการนำไปใช้หรือเพื่อการประยุกต์ใช้ขั้นต้นกัน ดังนี้

หัวข้อแบบ H1 (Heading 1) <h1>….</h1>

แนะนำใช้งานสำหรับหัวข้อหลักของเนื้อหาที่มีคำสำคัญ หรือคีย์เวิร์ดที่เราต้องการทำอันดับบน Search Engine ควรใช้เพียง 1 ตำแหน่ง ห้ามซ้ำกันในเนื้อหาหน้าเดียวกัน เพื่อให้ Google เข้าใจได้ว่าเนื้อหาของเรานั้นมีความเกี่ยวข้องกันกับสิ่งใด

แนวทางการเลือกใช้ Meta Tags H1, H2, H3, H4, H5, H6 ในเชิง SEO

หัวข้อแบบ H2 (Heading 2) <h2>…</h2>

ใช้เพื่อเป็นหัวข้ออธิบายเพิ่มเติม รองจากหัวข้อแบบ h1 อาจมีคำสำคัญหรือคีย์เวิร์ดรองที่เราต้องการเน้นทำอันดับ สามารถใช้มากกว่า 1 ตำแหน่ง  ในเนื้อหาหน้าเดียวกันได้ แต่ส่วนตัวผมเองแนะนำไม่เกิน 5  ตำแหน่ง ในเนื้อหาหน้าเดียวกันครับ

หัวข้อแบบ H3 (Heading 3) <h3>…</h3>

หัวข้อในลักษณะ meta tags แบบ h3 ตัวนี้ผมค่อนข้างนิยมใช้ อย่างในบทความที่ท่านกำลังอ่านนี้ แต่ละหัวข้อย่อยผมก็มักใช้ h3 เพื่อเป็นหัวข้อประกอบ คำอธิบายแต่ละประเด็น ซึ่งอาจจะมี หรืออาจจะไม่มี หัวข้อหรือคำสำคัญ (คีย์เวิร์ด) ที่ต้องการเน้นทำอันดับเลยก็ได้ เพียงแค่ให้หัวข้อนั้นๆ มีความสอดคล้องกับเนื้อหาที่เราเขียนก็พอ

หัวข้อแบบ H4, H5, H6 (Heading 4,5,6)

ส่วนตัวผมใช้ h4, h4, h6 สำหรับการอ้างอิงหัวข้อที่เกี่ยวข้องทั่วไป ***เฉพาะภายในเว็บไซต์  ตัวอย่างเช่น มีบทความเนื้อหาอื่นๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับเนื้อหานี้ และต้องการที่จะเขียนอธิบายเพื่ออ้างอิงประกอบข้อมูลนั้นๆ แนบท้ายบทความ จึงจะใช้ meta tags ดังกล่าวนี้เท่านั้น แต่ถ้าไม่มีเนื้อหาแยกย่อยพิเศษที่ต้องการเขียนเพิ่มเติม ผมก็จะไม่ค่อยได้ใช้  หรือใช้มากสุดก็จะเพียงแค่ h4,h5  เท่านั้นครับ

ตัวอย่าง Landing Page สำหรับการใช้ Meta Tags H1-H6

ตัวอย่างการเรียงลำดับความสำคัญ H1-H6

หัวข้อหลัก Heading 1 (สำคัญมาก)

ข้อมูลเนื้อหาอธิบายหัวข้อหลักแบบ Heading 1 (H1) ควรมีคีย์เวิร์ด หรือคำสำคัญที่เราต้องการเน้นทำอันดับ

หัวข้อรอง Heading 2 (ความสำคัญรองลงมา)

ข้อมูลเนื้อหาอธิบายหัวข้อรองของเนื้อหาแบบ Heading 2 (H2) อาจมีคีย์เวิร์ดรองจากหัวข้อหลักที่เราต้องการเน้น

หัวข้อทั่วไป Heading 3 (ความสำคัญทั่วไป)

คำอธิบายเนื้อหาทั่วไป ใช้เพื่ออธิบายเนื้อหาประกอบบทความให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น

หัวข้อรอง Heading 2

ข้อมูลเนื้อหาอธิบายหัวข้อรองของเนื้อหาแบบ Heading 2 (H2) อาจมีคีย์เวิร์ดรองจากหัวข้อหลักที่เราต้องการเน้น

……… . . .. .

ซึ่งในเนื้อหาบทความทั่วไป ก็จะเรียงลำดับวนไปเรื่อยๆ แบบนี้ ตามความสำคัญ และความเกี่ยวข้องของเนื้อหา แต่สำคัญเพียงอย่างเดียวคือ H1 ควรต้องมี และควรมีเพียงตำแหน่งเดียวด้านบนของเนื้อหาเท่านั้นครับ

บทความโดย: Anurak Piamjad

Our Score
Click to rate this post!
[Total: 0 Average: 0]